เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [3. ปัญญาวรรค] 3. อภิสมยกถา
ในขณะแห่งอรหัตตมรรค ฯลฯ ในขณะแห่งอรหัตตผล การตรัสรู้คือความเห็น
ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ การตรัสรู้คือความตรึกตรอง ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ ฯลฯ การตรัสรู้
ที่ชื่อว่าอนุปปาทญาณ เพราะมีสภาวะระงับ การตรัสรู้ที่ชื่อว่าฉันทะ เพราะมี
สภาวะเป็นมูล ฯลฯ การตรัสรู้ที่ชื่อว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะมี
สภาวะเป็นที่สุด
บุคคลนี้นั้นย่อมละกิเลสได้ คือ ละกิเลสที่เป็นอดีตได้ ละกิเลสที่เป็น
อนาคตได้ (และ) ละกิเลสที่เป็นปัจจุบันได้
คำว่า ละกิเลสที่เป็นอดีตได้ อธิบายว่า บุคคลละกิเลสที่เป็นอดีตได้หรือ
ถ้าอย่างนั้น บุคคลนั้นก็ทำกิเลสที่สิ้นแล้วให้สิ้นไป ทำกิเลสที่ดับแล้วให้ดับไป ทำ
กิเลสที่ปราศจากแล้วให้ปราศจากไป ทำกิเลสที่หมดแล้วให้หมดไป ละกิเลสที่เป็น
อดีตซึ่งไม่มีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นชื่อว่าละกิเลสที่เป็นอดีตไม่ได้
คำว่า ละกิเลสที่เป็นอนาคตได้ อธิบายว่า บุคคลละกิเลสที่เป็นอนาคตได้
หรือ ถ้าอย่างนั้น บุคคลนั้นก็ละกิเลสที่ยังไม่เกิด ละกิเลสที่ยังไม่บังเกิด ละกิเลสที่
ยังไม่เกิดขึ้น ละกิเลสที่ยังไม่ปรากฏ ละกิเลสที่เป็นอนาคตซึ่งไม่มีอยู่ เพราะเหตุนั้น
บุคคลนั้นชื่อว่าละกิเลสที่เป็นอนาคตไม่ได้
คำว่า ละกิเลสที่เป็นปัจจุบันได้ อธิบายว่า บุคคลละกิเลสที่เป็นปัจจุบันได้
หรือ ถ้าอย่างนั้น บุคคลผู้กำหนัดก็ละราคะได้ ผู้ขัดเคืองก็ละโทสะได้ ผู้หลงก็ละ
โมหะได้ ผู้มีมานะผูกพันก็ละมานะได้ ผู้ถือทิฏฐิผิดก็ละทิฏฐิได้ ผู้ถึงความฟุ้งซ่าน
ก็ละอุทธัจจะได้ ผู้ลังเลไม่แน่ใจก็ละวิจิกิจฉาได้ ผู้มีเรี่ยวแรงก็ละอนุสัยได้ ธรรมฝ่าย
ดำและธรรมฝ่ายขาว1เป็นธรรมคู่กันเป็นไปด้วยกัน มัคคภาวนาที่มีความหม่นหมอง
ด้วยกิเลสนั้นจึงมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นชื่อว่าละกิเลสที่เป็นอดีตไม่ได้ ละ
กิเลสที่เป็นอนาคตไม่ได้ (และ)ละกิเลสที่เป็นปัจจุบันไม่ได้
บุคคลละกิเลสที่เป็นอดีตไม่ได้ ละกิเลสที่เป็นอนาคตไม่ได้ (และ)ละกิเลสที่
เป็นปัจจุบันไม่ได้หรือ ถ้าอย่างนั้น มัคคภาวนาก็ไม่มี การทำผลให้แจ้งก็ไม่มี การ

เชิงอรรถ :
1 ธรรมฝ่ายดำ หมายถึงอกุศลธรรม ธรรมฝ่ายขาว หมายถึงกุศลธรรม (ขุ.ป.อ. 2/21/354-355)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :576 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [3. ปัญญาวรรค] 4. วิเวกกถา
ละกิเลสก็ไม่มี ธรรมาภิสมัยก็ไม่มี มัคคภาวนามีอยู่ การทำผลให้แจ้งก็มีอยู่ การ
ละกิเลสก็มีอยู่ ธรรมาภิสมัยก็มีอยู่ เหมือนอะไร เหมือนต้นไม้กำลังรุ่นยังไม่เกิดผล
บุรุษพึงตัดต้นไม้นั้นที่ราก ผลที่ยังไม่เกิดของต้นไม้นั้นก็เกิดไม่ได้ ที่ยังไม่บังเกิดก็
บังเกิดไม่ได้ ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้นไม่ได้ ที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏไม่ได้
ความเกิดขึ้นเป็นเหตุ ความเกิดขึ้นเป็นปัจจัยแห่งความบังเกิดของกิเลส
ทั้งหลาย จิตเห็นโทษในความเกิดขึ้นแล้วจึงแล่นไปในนิพพานซึ่งไม่มีความเกิดขึ้น
เพราะจิตแล่นไปในนิพพานซึ่งไม่มีความเกิดขึ้น กิเลสที่พึงบังเกิดเพราะความเกิด
ขึ้นเป็นปัจจัย ที่ยังไม่เกิดก็เกิดไม่ได้ ที่ยังไม่บังเกิดก็บังเกิดไม่ได้ ที่ยังไม่เกิดขึ้น
ก็เกิดขึ้นไม่ได้ ที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏไม่ได้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุดับ
ทุกข์จึงดับด้วยประการฉะนี้
ความเป็นไปเป็นเหตุ ...
นิมิตเป็นเหตุ ...
กรรมเป็นเครื่องประมวลมาเป็นเหตุ กรรมเป็นเครื่องประมวลมาเป็นปัจจัย
แห่งความบังเกิดของกิเลสทั้งหลาย จิตเห็นโทษในกรรมเป็นเครื่องประมวลมาแล้ว
จึงแล่นไปในนิพพานซึ่งไม่มีกรรมเป็นเครื่องประมวลมา เพราะจิตแล่นไปในนิพพาน
ซึ่งไม่มีกรรมเป็นเครื่องประมวลมา กิเลสที่พึงบังเกิดเพราะกรรมเป็นเครื่องประมวล
มาเป็นปัจจัย ที่ยังไม่เกิดก็เกิดไม่ได้ ที่ยังไม่บังเกิดก็บังเกิดไม่ได้ ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็
เกิดขึ้นไม่ได้ ที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏไม่ได้ เพราะเหตุดับ ทุกข์จึงดับด้วยประการฉะนี้
มัคคภาวนาจึงมีอยู่ การทำผลให้แจ้งก็มีอยู่ การละกิเลสก็มีอยู่ ธรรมาภิสมัยก็มี
อยู่ด้วยประการฉะนี้
อภิสมยกถา จบ

4. วิเวกกถา
ว่าด้วยวิเวก
[22] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุทั้งหลาย การงานที่ต้องทำด้วยกำลังอย่างใดอย่างหนึ่ง การงานนั้น
ทั้งหมดบุคคลต้องอาศัยแผ่นดิน ดำรงอยู่บนแผ่นดิน จึงทำกันได้ การงานที่ต้อง

 


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :577 }